จัดทำโดย
นายณัฐภพ ขอสีกลาง เลขที่ 26
นายทิวัตถ์ เมืองแดง เลขที่ 27
นักเรียนชั้น ม.6/1

วันจันทร์ที่ 20 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

เรื่องราวโดยสรุปสงครามศาสนา

ซึ่งหลวงวิจิตรวาทการท่านได้กล่าวไว้ในหนังสือประวัติศาสตร์สากลของท่าน ดังนี้

  • ครั้งที่ ๑ ตั้งแต่เมื่อพุทธศักราช ๑๖๓๕ ถึงพุทธศักราช ๑๖๔๒ เป็นครั้งที่ครึกครื้นที่สุด พระเจ้าแผ่นดินหลายพระองค์ได้ไปในครั้งนี้ และเป็นครั้งเดียวที่เอาชนะพวกเตอร์ก เปิดทางให้คริสต์ศาสนิกชนไปนมัสการที่ฝังศพพระเยซูได้สะดวก
  • ครั้งที่ ๒ ตั้งแต่พุทธศักราช ๑๖๙๐ ถึง พุทธศักราช ๑๖๙๒ พระเจ้าหลุยส์ที่ ๗ ของฝรั่งเศส กับ พระเจ้าคอนราดที่ ๓ ของเยอรมัน ได้ไปในครั้งนี้ แต่ย่อยยับกลับมา
  • ครั้งที่ ๓ ตั้งแต่พุทธศักราช ๑๗๓๒ ถึง พุทธศักราช ๑๗๓๕ พระเจ้าเฟรเดริกที่ ๑ (เยอรมัน) ฟิลิปป์ออกุสต์ (ฝรั่งเศส) และริชาร์ด ไลออนอาร์ (อังกฤษ) ได้ไปในครั้งนี้ พากันแพ้กลับมา และพระเจ้าเฟรเดริกจมน้ำตาย
  • ครั้งที่ ๔ ตั้งแต่พุทธศักราช ๑๗๔๕ ถึง พุทธศักราช ๑๗๔๗ ไม่ได้ผลอะไรเลย และแทนที่กองทัพครูเสดจะไปรบพวกเตอร์ก กลับไปรบพวกคริสเตียนด้วยกันเอง
  • ครั้งที่ ๕ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๑๗๖๐ ถึง พุทธศักราช ๑๗๖๔ เซนเญอร์ของฝรั่งเศสคนหนึ่งชื่อ ยองเลอเบรียน กับพระเจ้าแผ่นดินฮังการี ไปรบพวกเตอร์กในประเทศอียิปต์ และไม่ได้ผลทางชัยชนะ
  • ครั้งที่ ๖ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๑๗๗๑ ถึง ปีพุทธศักราช ๑๗๗๒ พระเจ้าเฟรเดริกที่ ๒ (เยอรมัน) เป็นหัวหน้าไป แต่แทนที่จะไปรบ กลับไปทำไมตรีกับพวกอาหรับ ซึ่งมีผลดีกว่าไปรบ เพราะทำให้พวกอาหรับยอมให้พวกคริสเตียนเดินทางเข้าเมืองเยรูซาเลมได้อีก
  • ครั้งที่ ๗ ตั้งแต่ปีพุทธศักราช ๑๗๙๑ ถึง พุทธศักราช ๑๗๙๒ และ
  • ครั้งที่ ๘ ในปีพุทธศักราช ๑๘๑๓ นั้น สงครามครูเสดได้ทำกันในประเทศอียิปต์ เพราะพวกหัวหน้าเตอร์กมีถิ่นสำคัญตั้งอยู่ที่นั่น และแซงต์หลุยส์ (ฝรั่งเศส) เป็นตัวตั้งในสงครามครูเสดทั้งสองครั้งนี้ จนแซงหลุยส์สิ้นพระชนม์เมื่อพุทธศักราช ๑๘๑๓ และ สงครามครูเสดก็สุดสิ้นลงในครั้งนี้

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น